บทความสุขภาพ – โรงพยาบาลเวชธานี https://www.vejthani.com Get a Medical Check up in Bangkok at Vejthani Hospital Fri, 02 May 2025 10:03:26 +0000 th hourly 1 https://wordpress.org/?v=6.2.2 https://www.vejthani.com/wp-content/uploads/2021/10/favicon.ico บทความสุขภาพ – โรงพยาบาลเวชธานี https://www.vejthani.com 32 32 เลี่ยงเนื้อดิบลดเสี่ยงเชื้อแอนแทรกซ์ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87/ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87/#respond Fri, 02 May 2025 09:57:01 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42627 โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Bacillus anthracis เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน จากการรับประทานเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ

The post เลี่ยงเนื้อดิบลดเสี่ยงเชื้อแอนแทรกซ์ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Bacillus anthracis เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน จากการรับประทานเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ หรือจากการสัมผัสสัตว์ที่ป่วย หรือตายผิดปกติจากการหายใจเอาฝุ่นดินที่มีสปอร์เชื้อเข้าไป

โดยมีระยะฟักตัว 1 – 7 วัน เวลายาวที่สุดคือ 60 วัน (กรณีสูดหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป)

สัตว์พาหะหลัก คือ โค กระบือ แพะ แกะ

อาการที่ควรสังเกต

  • มีไข้ ไอ หายใจไม่อิ่ม เจ็บหน้าอก
  • เป็นแผลเนื้อตายสีดำ ขอบแผลนูนเป็นวงคล้ายบุหรี่จี้ (Eschar)
  • อาการระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อุจจาระร่วงหรือถ่ายเป็นสีดำ

การป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ติดเชื้อหรือซากสัตว์ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีประวัติการระบาด
  • สวมอุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องสัมผัสสัตว์หรือซากสัตว์ เช่น ถุงมือ หน้ากาก เสื้อคลุมกันเปื้อน
  • หลังสัมผัสกับเนื้อสัตว์ควรล้างมือ และอุปกรณ์ให้สะอาดเสมอ
  • เลือกบริโภคเนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรอง อาหารปลอดภัย
  • ไม่รับประทานอาหารจากเนื้อสัตว์ที่ดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000

The post เลี่ยงเนื้อดิบลดเสี่ยงเชื้อแอนแทรกซ์ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%99%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%a2%e0%b8%87/feed/ 0
กระดูกพรุน ไม่เลือกวัย พฤติกรรมไหนทำร้ายกระดูกโดยไม่รู้ตัว https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2/ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2/#respond Fri, 02 May 2025 07:16:15 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42623 โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและหักได้ง่าย โดยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก

The post กระดูกพรุน ไม่เลือกวัย พฤติกรรมไหนทำร้ายกระดูกโดยไม่รู้ตัว appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและหักได้ง่าย โดยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก โรคนี้พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันอาจเร่งให้กระดูกพรุนเร็วกว่าที่คิด

สาเหตุหลักที่ทำให้กระดูกพรุนเร็ว

  • ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะหลังหมดประจำเดือน
  • ขาดแคลเซียมและวิตามินดี
  • ไม่ออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์
  • โรคประจำตัว เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือโรคที่ทำให้การดูดซึมสารอาหารผิดปกติ รวมถึงการใช้ยาสเตียรอยด์ในระยะยาว
  • พันธุกรรมและรูปร่างเล็ก

หากไม่อยากให้กระดูกพรุนเร็วกว่าที่ควร ควรดูแลสุขภาพกระดูกตั้งแต่วันนี้ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม เต้าหู้ ผักใบเขียว เนื้อปลา รับแสงแดดยามเช้าเพื่อกระตุ้นการสร้างวิตามินดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงตรวจมวลกระดูกสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยง

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์กระดูกและข้อ โรงพยาบาลเวชธานี
 โทร. 02-734-0000

The post กระดูกพรุน ไม่เลือกวัย พฤติกรรมไหนทำร้ายกระดูกโดยไม่รู้ตัว appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%94%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99-%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%a2/feed/ 0
รู้หรือไม่ ไตเสื่อมลงทุกปี https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1/ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1/#respond Fri, 02 May 2025 07:06:54 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42620 โดยทั่วไปแล้ว ไตจะเริ่มเสื่อมช้าลงตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 30–40 ปี ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า อัตราการกรองของเสียจากไต (GFR) อาจลดลงประมาณ 0.75% ถึง 1% ต่อปี

The post รู้หรือไม่ ไตเสื่อมลงทุกปี appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

โดยทั่วไปแล้ว ไตจะเริ่มเสื่อมช้าลงตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 30–40 ปี ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า อัตราการกรองของเสียจากไต (GFR) อาจลดลงประมาณ 0.75% ถึง 1% ต่อปี ในผู้ที่มีสุขภาพดี ไม่มีโรคประจำตัว แต่กลุ่มคนที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กินอาหารเค็ม รสจัด หรือการกินยาสมุนไพรบางชนิดเป็นประจำ จะทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นโดยบางรายอาจสูญเสียการทำงานของไตถึง 3–5% ต่อปี โดยไม่รู้ตัว

สัญญาณเตือนว่าอาจมีโรคไตเสื่อม ได้แก่

  • ปัสสาวะผิดปกติ (เช่น มีฟอง, ขุ่น, สีเข้ม)
  • บวมที่ใบหน้า ขา หรือหลังเท้า
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย
  • ความดันโลหิตสูงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ซีดจากภาวะเลือดจาง

แม้ไตเสื่อมตามวัยจะเป็นเรื่องธรรมชาติ แต่เราสามารถชะลอการเสื่อมลงนี้ ได้ด้วยการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ ลดการบริโภคเค็ม อาหารรสจัด ควบคุมระดับน้ำตาล ความดันโลหิตและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน รวมทั้งหมั่นตรวจสุขภาพทุกปี

สิ่งเหล่านี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะไตวาย และยืดอายุการทำงานของไตในระยะยาว เริ่มใส่ใจสุขภาพไตตั้งแต่วันนี้ เพราะสุขภาพดี เริ่มต้นที่การป้องกันที่ถูกวิธี

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์อายุรกรรม  โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000

The post รู้หรือไม่ ไตเสื่อมลงทุกปี appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%84%e0%b8%a1%e0%b9%88-%e0%b9%84%e0%b8%95%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1/feed/ 0
รวมวิธี พลิกฟื้นผิวเสียจากแสงแดด https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/#respond Fri, 02 May 2025 06:55:31 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42617 แสงแดดในฤดูร้อนแม้จะเป็นแหล่งวิตามินดี แต่หากได้รับมากเกินไปอาจทำร้ายผิวได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอาการ ผิวไหม้แดด (Sunburn) ที่ทำให้ผิวแดง

The post รวมวิธี พลิกฟื้นผิวเสียจากแสงแดด appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

แสงแดดในฤดูร้อนแม้จะเป็นแหล่งวิตามินดี แต่หากได้รับมากเกินไปอาจทำร้ายผิวได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอาการ ผิวไหม้แดด (Sunburn) ที่ทำให้ผิวแดง แสบ ลอก และในบางกรณีอาจเกิดจุดด่างดำหรือริ้วรอยก่อนวัย ดังนั้น เพื่อรักษาสมดุลของผิวหนัง ควรปฏิบัติตามแนวทาง ดังต่อไปนี้

  • ล้างหน้าอย่างอ่อนโยนทุกเช้าและก่อนนอน
  • บำรุงผิวด้วยครีมหรือเซรั่มที่มีมอยส์เจอไรเซอร์ทั้งเช้าและก่อนนอน
  • ปกป้องผิวด้วยครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไป
  • รับประทานอาหารที่มีวิตามินครบถ้วน และสารต้านอนุมูลอิสระ
  • ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว เพื่อรักษาความชุ่มชื้นของผิว

นอกจากการดูแลตนเองในเบื้องต้นแล้ว ปัจจุบันยังมีหัตถการที่ช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาพผิวหน้าหลังเผชิญกับแสงแดดและมลภาวะสิ่งแวดล้อม อาทิ เช่น การผลักวิตามินด้วยการใช้คลื่นเสียงหรือกระแสไฟฟ้า, การใช้แสงที่มีความเข้มข้นสูง (Intense Pulsed Light) ในการรักษากระ รอยดำ รอยแดง และสีผิวไม่สม่ำเสมอ

รวมถึงการใช้เลเซอร์ในการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน

สิ่งสำคัญคือควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด หมั่นทาครีมกันแดด และดื่มน้ำให้เพียงพอ เพื่อให้ผิวได้รับการดูแลจากทั้งภายในและภายนอกอย่างครบถ้วน 

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-7340000

The post รวมวิธี พลิกฟื้นผิวเสียจากแสงแดด appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%9e%e0%b8%a5%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%9f%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%9c%e0%b8%b4%e0%b8%a7%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b5%e0%b8%a2/feed/ 0
5 พฤติกรรมที่เร่งข้อสะโพกเสื่อมเร็วขึ้น https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%a7/ https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%a7/#respond Fri, 02 May 2025 04:50:15 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42610 ข้อสะโพกเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อมีการใช้งานมานานก็อาจก่อให้เกิดความเสื่อมได้ ในขณะที่หลายคนอาจคิดว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

The post 5 พฤติกรรมที่เร่งข้อสะโพกเสื่อมเร็วขึ้น appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

ข้อสะโพกเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อมีการใช้งานมานานก็อาจก่อให้เกิดความเสื่อมได้ ในขณะที่หลายคนอาจคิดว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจจุบันด้วยไลฟ์สไตล์ของคนยุคใหม่ทำให้โรคนี้มาเร็วกว่าที่คิด

5 พฤติกรรมที่เร่งข้อสะโพกเสื่อมเร็วขึ้น เช่น

  • นั่งยอง หรือ นั่งไขว่ห้างบ่อย ๆ
  • ยกของหนักเป็นประจำ
  • น้ำหนักตัวมากเกินไป
  • เล่นกีฬาแบบลงน้ำหนักหรือกระแทกบ่อย
  • ปล่อยให้อาการปวดสะโพกเรื้อรังโดยไม่รักษา

นอกจากนี้ บางคนอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือมีพัฒนาการที่ผิดปกติ จึงทำให้ข้อสะโพกเสื่อมเร็วกว่าคนทั่วไป ซึ่งพบได้ตั้งแต่อายุ 40 ปี เช่น ภาวะเบ้าสะโพกชันผิดปกติ ผู้ที่ข้อสะโพกติดเชื้อหรือมีอุบัติเหตุบาดเจ็บข้อสะโพกตั้งแต่เด็ก ภาวะหัวข้อสะโพกขาดเลือด เป็นต้น

ทั้งนี้ อย่ารอให้อาการลุกลามจนอักเสบหรือเดินไม่ไหว หากเริ่มมีอาการปวดสะโพก ปวดขาหนีบ หรือข้อติด ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลก่อนที่ข้อสะโพกจะเสื่อมหนัก

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า  โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000 ต่อ 2222

The post 5 พฤติกรรมที่เร่งข้อสะโพกเสื่อมเร็วขึ้น appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/05/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%aa%e0%b8%b0%e0%b9%82%e0%b8%9e%e0%b8%81%e0%b9%80%e0%b8%aa%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a3%e0%b9%87%e0%b8%a7/feed/ 0
ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กุญแจสำคัญสู่การป้องกันมะเร็งลำไส้ https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88/ https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88/#respond Fri, 25 Apr 2025 11:34:06 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42537 ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตจะพบใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย คือประมาณ 1 ต่อ 25 คน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

The post ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กุญแจสำคัญสู่การป้องกันมะเร็งลำไส้ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตจะพบใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย คือประมาณ 1 ต่อ 25 คน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามความเสี่ยงอื่นๆ ของผู้ป่วย เพราะฉะนั้น ในปัจจุบันจึงมีการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อให้สามารถตรวจพบรอยโรคได้ตั้งแต่ระยะเนิ่นๆ โดยการส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

พันโทหญิงแพทย์หญิงจรรยวรรธน์ สร้างสมวงษ์ ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านลำไส้ใหญ่และทวารหนัก โรงพยาบาเวชธานี อธิบายว่า โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เกิดขึ้นจากติ่งเนื้อ (Polyp) บริเวณผนังลำไส้ใหญ่ โดยปกติมักจะไม่ก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระยะแรก แต่หากติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่มีขนาดใหญ่ขึ้นหรือมีการเปลี่ยนแปลงผิดปกติ อาจก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น การขับถ่ายมีเลือดหรือมูกเลือดปน ถ่ายอุจจาระก้อนเล็กลง ท้องผูกสลับท้องเสีย แน่นท้อง ท้องโต หรือคลำเจอก้อนในท้อง

ปัจจุบันยังไม่สามารถทราบสาเหตุการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้อย่างแน่ชัด แต่สามารถแบ่งปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคได้ 2 ประเภท

ปัจจัยความเสี่ยงจากตัวบุคคล ได้แก่

  • อายุ ในอดีตพบว่ามากกว่า 90% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ มีอายุมากกว่า 50 ปี และอายุเฉลี่ยที่พบคือ 60 – 65 ปี แต่ในช่วง 10 ปีหลังมานี้ อุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่ในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 50 ปี เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยที่อายุน้อยที่สุดตามรายงานคือ 18 ปี
  • ประวัติในครอบครัวและถ่ายทอดทางพันธุกรรม พบว่า 20% ของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีคนในครอบครัวเคยเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่มาก่อน
  • ประวัติการเกิดติ่งเนื้อในลำไส้ มีการศึกษาพบว่า ติ่งเนื้อบางชนิดสามารถพัฒนากลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ แต่หากมีการตรวจพบและรักษาตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นติ่งเนื้อ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

ปัจจัยความเสี่ยงจากสภาพแวดล้อม

  • ภาวะน้ำหนักเกินและขาดการออกกำลังกาย จากการศึกษาพบว่าน้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงการเกิดโรค ขณะเดียวกันการออกกำลังกายจะช่วยเพิ่มการเผาผลาญ ทำให้ลำไส้มีการทำงานและเคลื่อนตัวมากขึ้น ผลในระยะยาวจะช่วยลดความเสี่ยงการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้
  • อาหาร ในอาหารบางประเภทจะมีสารก่อมะเร็งซ่อนอยู่ โดยเฉพาะอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบคอน แหนม หมูยอ ลูกชิ้น กุนเชียง และเนื้อแดงที่ถูกประกอบอาหารในความร้อนสูงจนเกรียมแบบปิ้งย่าง
  • การสูบบุหรี่ พบว่า 12%ของผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มีพฤติกรรมสูบบุหรี่
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์ร่วมกับการสูบบุหรี่ จะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งมากยิ่งขึ้น

ในปัจจุบันแพทย์สามารถตรวจหาติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้ ด้วยเทคโนโลยีการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ ทำให้สามารถตรวจพบติ่งเนื้อได้ตั้งแต่เนิ่นๆ แม้ว่าติ่งเนื้อนั้นจะมีขนาดเล็กเพียง 2 มิลลิเมตร หรือขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว นอกจากนี้ยังใช้ร่วมกับเทคนิคการประเมินสีพื้นผิวและเส้นเลือดของติ่งเนื้อ ด้วยแสงชนิดพิเศษที่เรียกว่า Magnified digital chromoendoscopy ทำให้สามารถบอกได้ว่าติ่งเนื้อที่พบเป็นติ่งเนื้อชนิดใด กลายเป็นมะเร็งแล้วหรือยัง มีการลุกลามลงเนื้อเยื่อชั้นลึกแล้วหรือไม่ เพื่อให้การรักษาที่เหมาะสมกับติ่งเนื้อนั้นๆ ทั้งนี้ เมื่อมีการตรวจพบติ่งเนื้อจากการส่องกล้องลำไส้ใหญ่แล้ว แพทย์ยังสามารถทำการตัดติ่งเนื้อออก ก่อนที่ติ่งเนื้อนั้นจะมีโอกาสกลายเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคตได้อีกด้วย

นอกจากนี้ด้วยเทคนิคการผ่าตัดผ่านกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ ที่เรียกว่า Endoscopic Submucosal Dissection หรือ ESD ทำให้สามารถตัดติ่งเนื้อขนาดใหญ่ ที่แม้บางส่วนมีการกลายเป็นมะเร็งแล้ว แต่ยังไม่มีการลุกลามไปยังเนื้อเยื่อชั้นลึกและต่อมน้ำเหลือง ออกได้ผ่านทางกล้องส่องตรวจลำไส้ใหญ่ ทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องมีแผลผ่าตัดหน้าท้อง และในบางรายไม่ต้องยกลำไส้เปิดทางหน้าท้อง (colostomy) โดยไม่จำเป็น แต่ทั้งนี้ หลังจากการผ่าตัดผ่านกล้องแล้วผู้ป่วยควรเข้ารับการส่องกล้องติดตามอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์

การเตรียมตัวก่อนส่องกล้องทางเดินอาหารส่วนปลาย

  • ถ่ายท้องลำไส้สะอาดก่อนถึงวันส่องกล้องเพื่อให้แพทย์เห็นภาพลำไส้ได้ชัดเจนที่สุด โดยใช้วิธีดื่มของเหลวที่ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ทำงานและถ่ายง่าย หรืออาจใช้วิธีสวนล้างลำไส้
  • งดกินยาบางประเภทตามที่แพทย์สั่ง ก่อนถึงวันเข้ารับการส่องกล้อง
  • ก่อนวันนัดตรวจ 2 วัน ควรทานแต่อาหารเหลวที่ไม่มีกากใย เช่น ซุป อาหารอ่อน หรือโจ๊ก หรือน้ำผลไม้ชนิดใส
  • หลังการตรวจส่องกล้อง ผู้ป่วยควรนอนพักนิ่งๆ 1 ชั่วโมงก่อนกลับบ้าน เพื่อสังเกตอาการ เพราะอาจมีอาการอึดอัดท้อง ท้องอืด เนื่องจากมีลม โดยอาการจะทุเลาลงหลังการตรวจ และไม่ควรขับรถกลับบ้านเอง ควรมีญาติพากลับบ้าน

อย่างไรก็ตาม การส่องกล้องเพื่อตรวจหาติ่งเนื้อ เปรียบเสมือนการตรวจเช็กร่างกาย โดยไม่ต้องรอให้เกิดความผิดปกติ โดยเฉพาะคนที่มีอายุมากกว่า 50 ปี หรือมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรได้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารอย่างสม่ำเสมอ และควรเลือกตรวจกับแพทย์ที่มีความชำนาญในการใช้เทคโนโลยีการส่องกล้อง เพื่อให้เกิดการวินิจฉัยที่แม่นยำ พร้อมกันนี้ ควรลดพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติกับลำไส้ใหญ่ร่วมด้วย เช่น รับประทานอาหารที่ผ่านกระบวนการปิ้งย่างมีเขม่าไหม้, อาหารแช่แข็ง, หรืออาหารที่ผ่านการแปรรูป เช่น เนื้อแดงและไส้กรอก เป็นต้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ศัลยกรรมลำไส้ใหญ่และทวารหนัก  โรงพยาบาลเวชธานี
โทร. 02-734-0000        

The post ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กุญแจสำคัญสู่การป้องกันมะเร็งลำไส้ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%aa%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a5%e0%b8%b3%e0%b9%84%e0%b8%aa%e0%b9%89%e0%b9%83%e0%b8%ab%e0%b8%8d%e0%b9%88/feed/ 0
ลดความรุนแรง RSV ให้ลูกน้อย ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87-rsv/ https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87-rsv/#respond Thu, 24 Apr 2025 09:58:40 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42523 หนึ่งในโรคติดเชื้อที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นกังวลมากที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งมักระบาดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี

The post ลดความรุนแรง RSV ให้ลูกน้อย ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>

หนึ่งในโรคติดเชื้อที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นกังวลมากที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งมักระบาดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ไวรัสชนิดนี้ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง 

การติดเชื้อ RSV ส่งผลให้มีอาการคล้ายไข้หวัดธรรมดา เช่น ไข้ ไอ จาม คัดจมูก น้ำมูกไหล แต่เมื่ออาการลุกลาม อาจทำให้เกิดหลอดลมใหญ่อักเสบ หลอดลมฝอยอักเสบ หรือปอดอักเสบ โดยจะมีอาการไข้สูง ไอแรง หอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด หรือเสียงครืดคราดในลำคอ และมีเสมหะมากกว่าไข้หวัดธรรมดา เด็กเล็กไม่สามารถเอาน้ำมูกหรือเสมหะออกเองได้ ทำให้หายใจลำบาก

ปัจจุบันสามารถป้องกันการติดเชื้อและลดความรุนแรง ให้กับเด็กๆ ได้ด้วยการฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป RSV (Nirsevimab) ซึ่งเป็นการฉีดสารภูมิคุ้มกัน (Antibody) ต่อเชื้อไวรัส RSV ให้กับร่างกายเพื่อนำไปใช้ต้านทานเชื้อไวรัส RSV ได้ทันที แนะนำให้ฉีดภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป RSV โดยแบ่งตามช่วงอายุ ได้แก่ กลุ่มทารกแรกเกิด – 12 เดือน ฉีดจำนวน 1 เข็ม และกลุ่มเด็กอายุ 12 – 24 เดือน ฉีดจำนวน 2 เข็ม

ประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป RSV นับว่ามีความปลอดภัย 

  • ช่วยลดโอกาสในการติดเชื้อไวรัส RSV ได้ถึง 79.5%
  • ลดความเสี่ยงจากการรักษาตัวในโรงพยาบาลของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนล่างที่เกิดจากเชื้อไวรัส RSV ได้ถึง 83.2%
  • ลดความรุนแรงและลดโอกาสจากการรักษาตัวในไอซียูได้ 75.3% 

นอกจากนี้ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปสามารถป้องกันการติดเชื้อไว้รัส RSV ได้ยาวนานถึง 5 เดือน ซึ่งครอบคลุมระยะเวลาในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัส RSV

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์กุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02 7340 000

The post ลดความรุนแรง RSV ให้ลูกน้อย ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/04/%e0%b8%a5%e0%b8%94%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87-rsv/feed/ 0
แนวทางการเตรียมตัวและดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต https://www.vejthani.com/th/2025/04/kidney-transplant-preparation-post-op-care/ https://www.vejthani.com/th/2025/04/kidney-transplant-preparation-post-op-care/#respond Thu, 24 Apr 2025 09:43:36 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42508 การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการเตรียมตัวของผู้ป่วยและการดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เหมาะสม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบและการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยในระยะยาว การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไต การปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอย่างถูกต้อง มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้ 1. การพักฟื้นที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องพักฟื้นอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล พร้อมช่วยเฝ้าระวังและป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด 2. การทำแบบบันทึกประจำวัน หลังออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องบันทึกอาการต่อเนื่อง เพื่อติดตามการตอบสนองต่อการรักษา โดยรายการที่ควรบันทึก เช่น  หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติโดยเฉพาะมากกว่า 180/100 mmHg, ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือมีสีปัสสาวะเข้มถึงส้ม มีเลือดปน รวมถึงอาการบวมตามตัว ที่หนังตา มือ และเท้า ตลอดจนเกิดอาการรู้สึกปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอยู่ทันที  3. การทำแผลผ่าตัดปลูกถ่ายไต […]

The post แนวทางการเตรียมตัวและดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการเตรียมตัวของผู้ป่วยและการดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เหมาะสม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบและการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยในระยะยาว

ป่วยเป็นโรคไตเรื้อรัง ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างไร

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไต

การปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้

  • การเข้าพักที่โรงพยาบาล : ผู้ป่วยต้องเข้าพักเพื่อเตรียมความพร้อมทางร่างกายและจิตใจ ก่อนเข้ารับการผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายไตให้เสร็จสมบูรณ์
  • การตรวจร่างกายอย่างละเอียด : โดยแพทย์จะตรวจประเมินสภาพร่างกาย รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เพื่อวางแผนการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยต่อผู้ป่วยมากที่สุด
  • การเตรียมความพร้อมด้านจิตใจ : ผู้ป่วยควรได้รับคำปรึกษาโดยทีมจิตแพทย์ เพื่อลดความวิตกกังวลและเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการผ่าตัด 

การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต

หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอย่างถูกต้อง มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้

1. การพักฟื้นที่โรงพยาบาล

ผู้ป่วยต้องพักฟื้นอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล พร้อมช่วยเฝ้าระวังและป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด

2. การทำแบบบันทึกประจำวัน

หลังออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องบันทึกอาการต่อเนื่อง เพื่อติดตามการตอบสนองต่อการรักษา โดยรายการที่ควรบันทึก เช่น 

  • วัดอุณหภูมิร่างกาย ค่าปกติไม่ควรสูงกว่า 37.5 องศาเซลเซียส
  • ตรวจวัดความดันโลหิตก่อนอาหารเช้า และก่อนอาหารเย็น
  • ตรวจดูลักษณะของปัสสาวะ ในเรื่องของ สี ปริมาณเป็นประจำ 

หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติโดยเฉพาะมากกว่า 180/100 mmHg, ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือมีสีปัสสาวะเข้มถึงส้ม มีเลือดปน รวมถึงอาการบวมตามตัว ที่หนังตา มือ และเท้า ตลอดจนเกิดอาการรู้สึกปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอยู่ทันที 

แนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ปลอดการติดเชื้อ

3. การทำแผลผ่าตัดปลูกถ่ายไต

หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ห้ามทำแผลเอง และต้องดูแลไม่ให้แผลเปียกน้ำจนกว่าจะแห้งสนิท เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะสามารถทำความสะอาดแผลได้ โดยควรล้างแผลวันละ 2 ครั้ง

อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจดูบริเวณแผลผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นประจำทุกวัน เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ โดยสามารถสังเกตได้จากมีอาการบวม แดง ร้อน แผลตึง มีของเหลวซึม หรือมีการแยกของแผล และถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที

4. การรับประทานยารักษา

แนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ควรตั้งเตือนให้รับประทานยาตรงเวลาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะยากดภูมิที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรปรับลดปริมาณยา หรือหยุดยาด้วยตัวเองอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ควรซื้อยาด้วยตัวเอง แต่ต้องเป็นแพทย์โรคไตหรือเภสัชกรเป็นผู้ให้คำแนะนำ วินิจฉัยก่อนจ่ายยาเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง

5. จำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย

หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยในระหว่างนี้สามารถเดินและเคลื่อนไหวเบา ๆ ได้ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ หลังจากนั้นเป็นเวลา 60 วันขึ้นไป จึงจะสามารถกลับมาออกกำลังกายได้ตามปกติ ทั้งนี้ ระยะเวลาเป็นแค่ตัวเลขประมาณคร่าว ๆ ควรได้รับการประเมินจากแพทย์อีกครั้ง

6. งดการขับรถ 1 เดือน

นอกเหนือจากการจำกัดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตยังควรงดขับรถเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อันจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังปลูกถ่ายไต เช่น อาการความดันโลหิตต่ำ ความอ่อนเพลีย เป็นต้น

ข้อควรระวังหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต

  • ต้องดูแลอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้หลังปลูกถ่ายไต
  • คอยระวังแผลผ่าตัดไม่ให้เกิดการติดเชื้อ โดยให้ทำความสะอาดแผลอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์ 
  • จำกัดการเคลื่อนไหวร่างกาย หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวที่รุนแรงในช่วงแรกของการผ่าตัด จนกว่าแพทย์จะประเมินว่าสามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ตามความเหมาะสมตามระดับการสมานของแผล
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางไกลช่วง 90-100 วันหลังการผ่าตัด เพื่อลดการกระทบกระเทือนของแผล ที่ส่งผลให้แผลสมานตัวช้า หรือเกิดการอักเสบติดเชื้อได้ แต่ถ้าหากจำเป็นจะต้องเดินทาง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
  • ควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับวัคซีนใด ๆ เสมอ เพราะวัคซีนบางชนิดอาจไม่เหมาะสมหรือต้องปรับปริมาณยาสำหรับผู้ป่วยที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ

ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยให้ตระหนักไว้ว่าการดูแลสุขภาพหลังการปลูกถ่ายไตเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งการเอาใจใส่ดูแลตนเองอย่างดีจะช่วยให้ไตที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานที่สุด


ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรรักษา ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้อย่างมั่นใจที่ ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี ภายใต้การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ (Multidisciplinary Team) เช่น ทีมอายุรแพทย์โรคไต, ศัลยแพทย์เปลี่ยนไต, อายุรแพทย์ชำนาญการด้านโลหิตวิทยา และการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการเปลี่ยนไต ตลอดจนทีมพยาบาลเฉพาะทางไตเทียม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคไตเรื้อรังและมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นในระยะยาว

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่

ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลเวชธานี

โทร 02-734-0000

The post แนวทางการเตรียมตัวและดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
https://www.vejthani.com/th/2025/04/kidney-transplant-preparation-post-op-care/feed/ 0
5 ท่ากายบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกสันหลังคด https://www.vejthani.com/th/2025/04/exercise-tips-for-scoliosis/ Thu, 24 Apr 2025 08:58:10 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42503 โรคกระดูกสันหลังคด หรือ Scoliosis เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งผิดปกติเมื่อมองจากด้านหลัง ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติของรูปร่างได้ชัดเจน โดยอาจพบว่าไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกเอียง หรือเอวคอดไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ในผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจส่งผลให้หายใจลำบาก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบ ควรได้รับการรักษากระดูกสันหลังคดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาว กระดูกสันหลังคดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด และความเสื่อมของกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ ดังนั้น การวางแผนการรักษาจึงต้องสอดคล้องกับสาเหตุของโรค เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน การออกกำลังกายในผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด สำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน เพราะอาจส่งผลให้อาการแย่ลง ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากเป็นพิเศษ โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ได้แก่ เพื่อให้อาการดีขึ้นอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยต้องมีโปรแกรมเฉพาะและได้รับการแนะนำโดยแพทย์ชำนาญการเท่านั้น ควรเน้นการออกกำลังกายในท่าที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อบริเวณแกนกลางของลำตัวมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการพยุงและรักษาสมดุลของกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อสะโพก ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันและพยุงกระดูกสันหลัง เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง จะช่วยลดน้ำหนักที่กดทับลงบนกระดูกสันหลัง ทำให้รักษาท่าทางได้ดีขึ้น และช่วยชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง เป็นผลดีต่อการรักษากระดูกสันหลังคด การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง ทำให้สามารถต้านทานแรงกดและแรงบิดที่มากระทำต่อกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น […]

The post 5 ท่ากายบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกสันหลังคด appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ Scoliosis เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งผิดปกติเมื่อมองจากด้านหลัง ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติของรูปร่างได้ชัดเจน โดยอาจพบว่าไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกเอียง หรือเอวคอดไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ในผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจส่งผลให้หายใจลำบาก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบ ควรได้รับการรักษากระดูกสันหลังคดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาว

กระดูกสันหลังคดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด และความเสื่อมของกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ ดังนั้น การวางแผนการรักษาจึงต้องสอดคล้องกับสาเหตุของโรค เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน

แพทย์กำลังอธิบายวิธีรักษากระดูกสันหลังคด

การออกกำลังกายในผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด

สำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน เพราะอาจส่งผลให้อาการแย่ลง ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากเป็นพิเศษ โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ได้แก่

  • กรณีอาการไม่รุนแรง แพทย์มักรักษาด้วยวิธีติดตามอาการ แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและนัดหมายมาเอกซ์เรย์เพื่อติดตามอาการในระยะเวลาที่เหมาะสม
  • กรณีผู้ป่วยอายุน้อย กระดูกสันหลังยังมีการเติบโต แพทย์อาจจะพิจารณาให้สวมเสื้อเกราะดัดหลังเพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกสันหลังคดมากขึ้นกว่าเดิม
  • กรณีรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล หรือมีอาการรุนแรง อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัด

เพื่อให้อาการดีขึ้นอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยต้องมีโปรแกรมเฉพาะและได้รับการแนะนำโดยแพทย์ชำนาญการเท่านั้น ควรเน้นการออกกำลังกายในท่าที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อบริเวณแกนกลางของลำตัวมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการพยุงและรักษาสมดุลของกระดูกสันหลัง

กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อสะโพก ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันและพยุงกระดูกสันหลัง เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง จะช่วยลดน้ำหนักที่กดทับลงบนกระดูกสันหลัง ทำให้รักษาท่าทางได้ดีขึ้น และช่วยชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง เป็นผลดีต่อการรักษากระดูกสันหลังคด

การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง ทำให้สามารถต้านทานแรงกดและแรงบิดที่มากระทำต่อกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น นอกจากนี้ ยังช่วยปรับสมดุลของร่างกาย ลดความเสี่ยงในการเกิดอาการปวดหลัง และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้สะดวกขึ้นอีกด้วย

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยรักษากระดูกสันหลังคด

แนะนำท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่รักษากระดูกสันหลังคด

สำหรับผู้ป่วยที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด และต้องการเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว สามารถออกกำลังกายด้วยท่าบริหารง่าย ๆ ที่ทำได้เองที่บ้านทั้ง 5 ท่า ดังนี้

ท่า Pelvic Tilt

ช่วยจัดระเบียบกระดูกสันหลัง กระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ และช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าท้องชั้นลึก

วิธีปฏิบัติ

  • นอนหงาย ชันเข่าขึ้น เท้าวางราบกับพื้น
  • เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง พร้อมกดหลังส่วนล่างให้แนบพื้น
  • ทำค้างไว้ 5 วินาที โดยหายใจตามปกติ
  • ทำ 2 เซต เซตละ 10 ครั้ง

ท่า Cat-Cow

ท่าออกกำลังที่ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และลดอาการปวดหลังสำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด รวมถึงเหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดหลังปวดไหล่จากสาเหตุอื่น ๆ ด้วย

วิธีปฏิบัติ

  • คุกเข่า วางมือทั้งสองข้างบนพื้น จัดให้หลังอยู่ในระนาบเดียวกับพื้น ศีรษะและคออยู่ในตำแหน่งที่สบาย
  • หายใจเข้าลึก ๆ พร้อมกับดึงกล้ามเนื้อหน้าท้องเข้าหาตัวและโก่งหลังขึ้น ก้มศีรษะลง
  • หายใจออก ผ่อนคลายกล้ามเนื้อหน้าท้อง ปล่อยหลังให้แอ่นลง ท้องห้อยลง ยกศีรษะขึ้นตามองเพดาน
  • ทำ 2 เซต เซตละ 10 ครั้ง

ท่า Bird-Dog

ช่วยเรื่องการทรงตัวและความมั่นคงของร่างกาย เสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว

วิธีปฏิบัติ

  • คุกเข่า แล้ววางมือทั้งสองข้างบนพื้น จัดระเบียบร่างกายให้หลังตรง
  • วางมือให้อยู่ตำแหน่งเดียวกับใต้ไหล่ และวางเข่าให้อยู่ตำแหน่งเดียวกับใต้สะโพกพอดี
  • ยืดแขนข้างหนึ่งตรงไปด้านหน้า พร้อมกับยืดขาฝั่งตรงข้ามไปด้านหลัง
  • หายใจตามปกติ และค้างท่านี้ไว้ 5 วินาที
  • สลับทำอีกข้าง โดยใช้แขนและขาฝั่งตรงข้าม
  • ทำซ้ำข้างละ 10-15 ครั้ง

ท่า Lat Stretch

เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท่ายืดกล้ามเนื้อข้างลำตัว เน้นบริหารกล้ามเนื้อส่วน Latissimus Dorsi ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อแบนและกว้างที่ครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของหลังส่วนล่างเป็นหลัก

วิธีปฏิบัติ

  • ยืนตัวตรงในท่าปกติ ไม่เกร็งตัว
  • วางเท้าห่างกันประมาณความกว้างของไหล่ งอเข่าเล็กน้อย
  • ยกแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะ ใช้มือซ้ายจับข้อมือขวา
  • ค่อย ๆ เอนตัวไปทางขวาเล็กน้อย จนรู้สึกถึงการยืดที่ด้านซ้ายของลำตัว
  • ค้างไว้ประมาณ 1-2 ลมหายใจ จากนั้นใช้มือซ้ายดึงเบา ๆ เพื่อยืดตัวกลับมาสู่ท่าเริ่มต้น
  • ทำซ้ำในอีกด้านหนึ่ง โดยสลับใช้มือขวาจับข้อมือซ้ายและเอนตัวไปทางซ้าย
  • ทำซ้ำข้างละ 5-10 ครั้ง

ท่า Arm and leg raises

ท่ากายบริหารสำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคดท่านี้ ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ผู้ที่เพิ่งเริ่มฝึกอาจเริ่มจากการยกแค่แขนหรือขาก่อน เพื่อป้องกันกระดูกสันหลังบิดมากเกินไป

วิธีปฏิบัติ

  • นอนคว่ำ หน้าผากแตะพื้น
  • เหยียดแขนตรงเหนือศีรษะ ฝ่ามือวางบนพื้น เหยียดขาทั้งสองข้างตรง
  • ออกแรงยกแขนและขาขึ้นจากพื้น โดยออกแรงส่วนกลางลำตัว
  • ค้างไว้ 1 ลมหายใจเข้าออก แล้วลดแขนและขากลับลงสู่พื้น
  • ทำให้ครบ 15 ครั้ง

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยกระดูกสันหลังคด

นอกเหนือจากการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมแล้ว ผู้ที่กำลังเข้ารับการรักษากระดูกสันหลังคด ยังมีข้อควรระมัดระวังอีกหลายประการ ดังนี้

  • งดการยกของที่มีน้ำหนักเกิน 10% ของน้ำหนักตัว เนื่องจากจะทำให้เกิดแรงกดทับบนกระดูกสันหลังมากเกินไป
  • ไม่นั่งท่าเดิมนานเกินไป เพราะส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังอ่อนแอและเพิ่มแรงกดทับบนกระดูกสันหลัง พยายามลุกขึ้นยืดเส้นยืดสายทุก 30-60 นาที 
  • ไม่ทำกิจกรรมหรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงเยอะ มีแรงปะทะสูง เช่น วิ่งมาราธอน กระโดดเชือก หรือชกมวย 


วางแผนรักษากระดูกสันหลังคดให้ดีขึ้นอย่างปลอดภัย นัดหมายเข้าพบแพทย์ผู้ชำนาญการ เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนการรักษาได้ที่ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี ดูแลอย่างใกล้ชิดโดยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกสันหลัง พร้อมเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รู้ก่อน รักษาไว อาจไม่จำเป็นต้องผ่าตัด

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลเวชธานี

โทร. 02-734-0000 ต่อ 5500, 5550

The post 5 ท่ากายบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกสันหลังคด appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
6 คำถามเกี่ยวกับ “การปลูกถ่ายไต” ที่ผู้ป่วยไตเรื้องรังควรรู้ https://www.vejthani.com/th/2025/04/questions-about-kidney-transplant/ Thu, 24 Apr 2025 08:19:40 +0000 https://www.vejthani.com/?p=42499 “การปลูกถ่ายไต” เป็นทางเลือกการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยในภาวะโรคไตเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม วิธีการปลูกถ่ายไตที่นับได้ว่ามีประสิทธิภาพ ก็ยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งประเภทของการปลูกถ่ายไต ระยะเวลาการใช้งานไตหลังปลูกถ่าย เวลาพักฟื้น การดูแลหลังผ่าตัด ตลอดจนการประมาณค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่าย ซึ่งการทำความเข้าใจกับ 6 คำถามที่พบบ่อยเหล่านี้ จะช่วยให้ญาติและผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ครอบคลุม จนนำไปสู่การตัดสินใจวางแผน พร้อมเลือกแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม 1. การปลูกถ่ายไตแบบ Living กับ Deceased คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ? การปลูกถ่ายไตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักตามแหล่งที่มาของไต ได้แก่ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant) และการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (Deceased Donor Kidney Transplant) 1.1 การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant) แนวทางการปลูกถ่ายโดยรับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต ตามหลักข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะและเซลล์ต้นกำเนิดพ.ศ.2566 ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้รับ อาทิ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา รวมไปถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนหรืออยู่ด้วยกันมาตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด […]

The post 6 คำถามเกี่ยวกับ “การปลูกถ่ายไต” ที่ผู้ป่วยไตเรื้องรังควรรู้ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>
“การปลูกถ่ายไต” เป็นทางเลือกการรักษาที่สำคัญสำหรับผู้ป่วยในภาวะโรคไตเรื้อรัง อย่างไรก็ตาม วิธีการปลูกถ่ายไตที่นับได้ว่ามีประสิทธิภาพ ก็ยังคงมีประเด็นที่ต้องพิจารณาหลายด้าน ทั้งประเภทของการปลูกถ่ายไต ระยะเวลาการใช้งานไตหลังปลูกถ่าย เวลาพักฟื้น การดูแลหลังผ่าตัด ตลอดจนการประมาณค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่าย ซึ่งการทำความเข้าใจกับ 6 คำถามที่พบบ่อยเหล่านี้ จะช่วยให้ญาติและผู้ป่วยมีความเข้าใจที่ครอบคลุม จนนำไปสู่การตัดสินใจวางแผน พร้อมเลือกแนวทางการรักษาได้อย่างเหมาะสม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง

1. การปลูกถ่ายไตแบบ Living กับ Deceased คืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ?

การปลูกถ่ายไตสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักตามแหล่งที่มาของไต ได้แก่ การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant) และการปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (Deceased Donor Kidney Transplant)

1.1 การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิต (Living-Related Kidney Transplant)

แนวทางการปลูกถ่ายโดยรับบริจาคไตจากผู้บริจาคที่ยังมีชีวิต ตามหลักข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม เรื่องการปลูกถ่ายอวัยวะและเซลล์ต้นกำเนิดพ.ศ.2566 ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้บริจาคจะต้องมีความสัมพันธ์ทางสายเลือดกับผู้รับ อาทิ พ่อแม่ พี่น้อง ลูก หลาน ลุง ป้า น้า อา รวมไปถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนหรืออยู่ด้วยกันมาตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

1.2 การปลูกถ่ายไตจากผู้บริจาคที่มีภาวะสมองตาย (Deceased Donor Kidney Transplant)

เป็นแนวทางการปลูกถ่ายโดยรับบริจาคไตจากผู้ที่มีภาวะสมองตาย ซึ่งจะทำการจัดสรรผ่านศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่จัดหาผู้บริจาคอวัยวะ พร้อมจัดสรรไตอย่างเป็นธรรม เสมอภาค และถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยไม่มีการซื้อขายอวัยวะ วิธีนี้ช่วยให้ผู้ป่วยที่ไม่มีญาติพร้อมบริจาคไตสามารถเข้าถึงการรักษาได้ ข้อจำกัดคืออาจต้องรอคิวนานและมีความเสี่ยงในการปฏิเสธอวัยวะสูงกว่า

โดยสรุป ทั้งสองวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน นอกจากนี้การเลือกวิธีปลูกถ่ายไตยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ความพร้อมของผู้บริจาคที่มีชีวิต ความเร่งด่วนในการรักษา และสภาวะสุขภาพของผู้ป่วย แพทย์จะพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย

2. เงื่อนไขของผู้บริจาคไตที่มีชีวิตตามกฎหมายเป็นอย่างไร ?

สำหรับไตที่บริจาคจากผู้ที่มีชีวิต เงื่อนไขตามกฎหมายไทยระบุว่า ผู้บริจาคไตจะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ ดังนี้ 

  • เป็นญาติที่มีความสัมพันธ์ทางสายเลือดโดยตรง เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก ฯลฯ
  • เป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสและอยู่กินด้วยกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี
  • กรณีที่เป็นคู่สมรสและมีบุตรด้วยกัน ไม่จำเป็นต้องรอจนครบ 3 ปี ก็สามารถบริจาคไตได้

โดยเงื่อนไขเหล่านี้มีไว้เพื่อป้องกันการซื้อขายอวัยวะและการบังคับบริจาค ทั้งนี้ ผู้บริจาคต้องผ่านการประเมินสุขภาพอย่างละเอียดและให้ความยินยอมโดยสมัครใจ จึงจะสามารถทำเอกสาร และเข้าสู่กระบวนการบริจาคไตเพื่อนำไปใช้ในการรักษาต่อได้

3. การรักษาโดยการปลูกถ่ายไตอยู่ได้นานแค่ไหน ?

โดยเฉลี่ย ไตที่ได้รับการปลูกถ่ายสามารถทำงานได้นาน 10-20 ปี อย่างไรก็ตาม ระยะเวลาการทำงานของไตที่ปลูกถ่ายขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น

  • การปฏิบัติตัว เช่น การดูแลสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง การตรวจสุขภาพตามนัด และการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งหมดนี้จะช่วยยืดอายุการใช้งานของไตได้
  • กรณีเกิดภาวะแทรกซ้อน ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการปลูกถ่าย เช่น การปฏิเสธของร่างกาย การติดเชื้อ หรือภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่ออายุการใช้งานของไต
  • อายุของผู้บริจาค ไตจากผู้บริจาคที่มีอายุน้อยมักจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าไตจากผู้บริจาคที่มีอายุมาก
  • ประเภทของผู้บริจาค ไตจากผู้บริจาคที่มีชีวิตมักจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าไตจากผู้บริจาคที่เสียชีวิตแล้ว

4. หลังการปลูกถ่ายไตพักฟื้นกี่วัน ?

ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับการปลูกถ่ายไตสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง

ระยะเวลาการพักฟื้นหลังการปลูกถ่ายไตขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัด และสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย โดยทั่วไปผู้ป่วยจะใช้เวลาพักฟื้นประมาณ 1-2 เดือนก่อนที่จะสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด ผู้ป่วยจะต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้แพทย์สามารถติดตามอาการและปรับยากดภูมิคุ้มกันได้อย่างใกล้ชิด หลังจากนั้น ผู้ป่วยจะได้รับอนุญาตให้กลับบ้านแต่ยังคงต้องมาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ

5. ผู้บริจาคไตจะได้รับผลข้างเคียงจากการบริจาคไตหรือไม่ ?

โดยทั่วไป ผู้บริจาคไตจะไม่ได้รับผลข้างเคียงระยะยาวที่รุนแรงจากการบริจาคไต เนื่องจากร่างกายสามารถปรับตัวและทำงานได้ตามปกติด้วยไตเพียงข้างเดียว อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยงบางประการ เช่น

  • การติดเชื้อ เป็นความเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกับการผ่าตัดทั่ว ๆ ไป 
  • การเสียเลือด แม้ว่าจะเสียในปริมาณที่ไม่มาก แต่ก็อาจทำให้ร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
  • ความเจ็บปวด ในบริเวณแผลผ่าตัด อย่างไรก็ตาม อาการดังกล่าวสามารถควบคุมและระงับได้ด้วยยาแก้ปวดตามแพทย์สั่ง
  • ภาวะแทรกซ้อนจากการผ่าตัด เช่น เลือดออกภายใน การอุดตันของเส้นเลือด หรือปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ

อย่างไรก็ตาม ทีมแพทย์จะทำการประเมินสุขภาพของผู้บริจาคอย่างละเอียดก่อนการผ่าตัด เพื่อให้มั่นใจว่าการบริจาคไตจะไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาว

6. ความเสี่ยงหลังการปลูกถ่ายไตและการดูแลตนเอง

หลังการปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องระมัดระวังเรื่องการติดเชื้อ เนื่องจากต้องรับประทานยากดภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันการปฏิเสธอวัยวะ โดยแนวทางการดูแลตัวเองในระยะนี้ ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ดังนี้

  • รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างสม่ำเสมอ
  • มาพบแพทย์เพื่อติดตามอาการและตรวจเลือดให้ตรงตามนัด
  • รักษาสุขอนามัยที่ดีเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังผ่าตัดปลูกถ่าย
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม เพื่อสุขภาพไตในระยะยาว

การปลูกถ่ายไตเป็นทางเลือกการรักษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง แม้จะมีความท้าทายและข้อควรพิจารณาหลายประการ แต่ด้วยการดูแลที่เหมาะสมและการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด จะทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน


ปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคไตเรื้อรัง พร้อมรับคำแนะนำในการปลูกถ่ายไตได้อย่างทันท่วงทีที่ ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี โดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ (Multidisciplinary Team) เช่น ทีมอายุรแพทย์โรคไต, ศัลยแพทย์เปลี่ยนไต, อายุรแพทย์เฉพาะทางด้านโลหิตวิทยา และการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการเปลี่ยนไต ตลอดจนทีมพยาบาลเฉพาะทางไตเทียม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคไตเรื้อรังและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างอุ่นใจ

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 

ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลเวชธานี

โทร 02-734-0000

The post 6 คำถามเกี่ยวกับ “การปลูกถ่ายไต” ที่ผู้ป่วยไตเรื้องรังควรรู้ appeared first on โรงพยาบาลเวชธานี.

]]>