การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการเตรียมตัวของผู้ป่วยและการดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เหมาะสม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบและการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยในระยะยาว
การปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้
หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอย่างถูกต้อง มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้
ผู้ป่วยต้องพักฟื้นอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล พร้อมช่วยเฝ้าระวังและป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด
หลังออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องบันทึกอาการต่อเนื่อง เพื่อติดตามการตอบสนองต่อการรักษา โดยรายการที่ควรบันทึก เช่น
หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติโดยเฉพาะมากกว่า 180/100 mmHg, ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือมีสีปัสสาวะเข้มถึงส้ม มีเลือดปน รวมถึงอาการบวมตามตัว ที่หนังตา มือ และเท้า ตลอดจนเกิดอาการรู้สึกปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอยู่ทันที
หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ห้ามทำแผลเอง และต้องดูแลไม่ให้แผลเปียกน้ำจนกว่าจะแห้งสนิท เป็นระยะเวลา 2-3 สัปดาห์ จากนั้นจึงจะสามารถทำความสะอาดแผลได้ โดยควรล้างแผลวันละ 2 ครั้ง
อย่างไรก็ตาม ควรหมั่นตรวจดูบริเวณแผลผ่าตัดเปลี่ยนไตเป็นประจำทุกวัน เพื่อประเมินภาวะติดเชื้อ โดยสามารถสังเกตได้จากมีอาการบวม แดง ร้อน แผลตึง มีของเหลวซึม หรือมีการแยกของแผล และถ้าหากมีอาการดังกล่าวให้รีบพบแพทย์ทันที
แนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไต ควรตั้งเตือนให้รับประทานยาตรงเวลาอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะยากดภูมิที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่อง และไม่ควรปรับลดปริมาณยา หรือหยุดยาด้วยตัวเองอย่างเด็ดขาด นอกจากนี้ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ไม่ควรซื้อยาด้วยตัวเอง แต่ต้องเป็นแพทย์โรคไตหรือเภสัชกรเป็นผู้ให้คำแนะนำ วินิจฉัยก่อนจ่ายยาเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในภายหลัง
หลังผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหนักเป็นเวลา 2 สัปดาห์ โดยในระหว่างนี้สามารถเดินและเคลื่อนไหวเบา ๆ ได้ภายใต้การดูแลของบุคลากรทางการแพทย์ หลังจากนั้นเป็นเวลา 60 วันขึ้นไป จึงจะสามารถกลับมาออกกำลังกายได้ตามปกติ ทั้งนี้ ระยะเวลาเป็นแค่ตัวเลขประมาณคร่าว ๆ ควรได้รับการประเมินจากแพทย์อีกครั้ง
นอกเหนือจากการจำกัดการออกกำลังกาย ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายไตยังควรงดขับรถเป็นเวลาอย่างน้อย 30 วันหลังผ่าตัด เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเกิดอาการอักเสบ และลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน อันจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่สามารถเกิดขึ้นได้หลังปลูกถ่ายไต เช่น อาการความดันโลหิตต่ำ ความอ่อนเพลีย เป็นต้น
ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยให้ตระหนักไว้ว่าการดูแลสุขภาพหลังการปลูกถ่ายไตเป็นกระบวนการต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งการเอาใจใส่ดูแลตนเองอย่างดีจะช่วยให้ไตที่ได้รับการปลูกถ่าย สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและยืดอายุการใช้งานได้ยาวนานที่สุด
ปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการรรักษา ผ่าตัดเปลี่ยนไตได้อย่างมั่นใจที่ ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลเวชธานี ภายใต้การดูแลโดยทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความชำนาญในด้านต่าง ๆ (Multidisciplinary Team) เช่น ทีมอายุรแพทย์โรคไต, ศัลยแพทย์เปลี่ยนไต, อายุรแพทย์ชำนาญการด้านโลหิตวิทยา และการตรวจเนื้อเยื่อเพื่อการเปลี่ยนไต ตลอดจนทีมพยาบาลเฉพาะทางไตเทียม ควบคู่ไปกับการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย เพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคไตเรื้อรังและมีคุณภาพชีวิตที่ขึ้นในระยะยาว
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะ โรงพยาบาลเวชธานี
โทร 02-734-0000