บทความสุขภาพ Archives - โรงพยาบาลเวชธานี

บทความสุขภาพ

Result 1 - of

ศูนย์อายุรกรรม

เลี่ยงเนื้อดิบลดเสี่ยงเชื้อแอนแทรกซ์
โรคแอนแทรกซ์ (Anthrax) เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ชื่อ Bacillus anthracis เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน จากการรับประทานเนื้อสัตว์หรือผลิตภัณฑ์จากสัตว์ที่มีเชื้อ

ศูนย์กระดูกและข้อ

กระดูกพรุน ไม่เลือกวัย พฤติกรรมไหนทำร้ายกระดูกโดยไม่รู้ตัว
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของมวลกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและหักได้ง่าย โดยมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดกระดูกหัก

ศูนย์อายุรกรรม

รู้หรือไม่ ไตเสื่อมลงทุกปี
โดยทั่วไปแล้ว ไตจะเริ่มเสื่อมช้าลงตามอายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 30–40 ปี ซึ่งจากการศึกษาทางการแพทย์พบว่า อัตราการกรองของเสียจากไต (GFR) อาจลดลงประมาณ 0.75% ถึง 1% ต่อปี

ศูนย์ผิวหนังและความงาม

รวมวิธี พลิกฟื้นผิวเสียจากแสงแดด
แสงแดดในฤดูร้อนแม้จะเป็นแหล่งวิตามินดี แต่หากได้รับมากเกินไปอาจทำร้ายผิวได้โดยไม่รู้ตัว โดยเฉพาะอาการ ผิวไหม้แดด (Sunburn) ที่ทำให้ผิวแดง

ศูนย์ข้อสะโพกและข้อเข่า

5 พฤติกรรมที่เร่งข้อสะโพกเสื่อมเร็วขึ้น
ข้อสะโพกเป็นส่วนที่รับน้ำหนักของร่างกาย เมื่อมีการใช้งานมานานก็อาจก่อให้เกิดความเสื่อมได้ ในขณะที่หลายคนอาจคิดว่าโรคข้อสะโพกเสื่อมมักเกิดกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

ศูนย์ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก

ส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนัก กุญแจสำคัญสู่การป้องกันมะเร็งลำไส้
ความเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ตลอดชีวิตจะพบใกล้เคียงกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย คือประมาณ 1 ต่อ 25 คน อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่

ศูนย์กุมารเวชกรรม

ลดความรุนแรง RSV ให้ลูกน้อย ด้วยภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป
หนึ่งในโรคติดเชื้อที่ทำให้พ่อแม่ผู้ปกครองเป็นกังวลมากที่สุด คงหนีไม่พ้นโรคติดเชื้อไวรัส RSV (Respiratory Syncytial Virus) ซึ่งมักระบาดในกลุ่มเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี

ศูนย์ไตเทียม

แนวทางการเตรียมตัวและดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไต
การผ่าตัดปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อนและสำคัญในการรักษาผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย ความสำเร็จของการผ่าตัดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย รวมถึงการเตรียมตัวของผู้ป่วยและการดูแลหลังผ่าตัดเปลี่ยนไตที่เหมาะสม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมอย่างรอบคอบและการปฏิบัติตามคำแนะนำหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลลัพธ์ของการรักษาของผู้ป่วยในระยะยาว การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไต การปลูกถ่ายไต เป็นหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน ทำให้ต้องมีการเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเปลี่ยนไตอย่างรอบคอบและเคร่งครัด เพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จของการปลูกถ่ายไต โดยผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้ การฟื้นฟูหลังการผ่าตัดเปลี่ยนไต หลังการผ่าตัดปลูกถ่ายไต ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด โดยแนวทางการดูแลผู้ป่วยปลูกถ่ายไตอย่างถูกต้อง มีอยู่ด้วยกันหลัก ๆ 6 ข้อ ดังนี้ 1. การพักฟื้นที่โรงพยาบาล ผู้ป่วยต้องพักฟื้นอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้อยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์และพยาบาล พร้อมช่วยเฝ้าระวังและป้องกันอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัด 2. การทำแบบบันทึกประจำวัน หลังออกจากโรงพยาบาลผู้ป่วยต้องบันทึกอาการต่อเนื่อง เพื่อติดตามการตอบสนองต่อการรักษา โดยรายการที่ควรบันทึก เช่น  หากพบอาการผิดปกติ เช่น มีอาการปวดศีรษะมาก หรือความดันโลหิตสูงผิดปกติโดยเฉพาะมากกว่า 180/100 mmHg, ปัสสาวะขุ่น ถ่ายปัสสาวะแสบขัด และปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ หรือมีสีปัสสาวะเข้มถึงส้ม มีเลือดปน รวมถึงอาการบวมตามตัว ที่หนังตา มือ และเท้า ตลอดจนเกิดอาการรู้สึกปวดตึงท้องหรือปวดบริเวณที่ปลูกถ่ายไต หากมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ควรแจ้งแพทย์และพยาบาลที่ดูแลอยู่ทันที  3. การทำแผลผ่าตัดปลูกถ่ายไต […]

ศูนย์กระดูกสันหลัง

5 ท่ากายบริหาร เพิ่มประสิทธิภาพการรักษากระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคด หรือ Scoliosis เป็นภาวะที่กระดูกสันหลังมีความโค้งผิดปกติเมื่อมองจากด้านหลัง ผู้ป่วยมักจะสังเกตเห็นความผิดปกติของรูปร่างได้ชัดเจน โดยอาจพบว่าไหล่ไม่เท่ากัน สะโพกเอียง หรือเอวคอดไม่เท่ากันทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ในผู้ใหญ่อาจมีอาการปวดหลังร่วมด้วย ขณะที่ผู้ป่วยบางรายอาจรู้สึกเหนื่อยง่ายเมื่อต้องยืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ในกรณีที่อาการรุนแรงมาก อาจส่งผลให้หายใจลำบาก แต่พบได้ไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบ ควรได้รับการรักษากระดูกสันหลังคดอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันผลกระทบระยะยาว กระดูกสันหลังคดเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติแต่กำเนิดของกระดูกสันหลัง โรคทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ความผิดปกติของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน การบาดเจ็บหรือการผ่าตัด และความเสื่อมของกระดูกสันหลังในผู้สูงอายุ ดังนั้น การวางแผนการรักษาจึงต้องสอดคล้องกับสาเหตุของโรค เพื่อให้การรักษาเกิดประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน การออกกำลังกายในผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด สำหรับผู้ที่กำลังรักษากระดูกสันหลังคด จะต้องคอยดูแลไม่ให้กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือน เพราะอาจส่งผลให้อาการแย่ลง ทำให้ต้องระมัดระวังในการใช้ชีวิตประจำวันมากเป็นพิเศษ โดยสามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค ได้แก่ เพื่อให้อาการดีขึ้นอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์แล้ว การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อก็เป็นสิ่งจำเป็นเช่นกัน โดยต้องมีโปรแกรมเฉพาะและได้รับการแนะนำโดยแพทย์ชำนาญการเท่านั้น ควรเน้นการออกกำลังกายในท่าที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อบริเวณแกนกลางของลำตัวมากเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการพยุงและรักษาสมดุลของกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ประกอบด้วยกล้ามเนื้อหน้าท้อง กล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง และกล้ามเนื้อสะโพก ทำหน้าที่เสมือนเกราะป้องกันและพยุงกระดูกสันหลัง เมื่อกล้ามเนื้อเหล่านี้แข็งแรง จะช่วยลดน้ำหนักที่กดทับลงบนกระดูกสันหลัง ทำให้รักษาท่าทางได้ดีขึ้น และช่วยชะลอการดำเนินของโรคให้ช้าลง เป็นผลดีต่อการรักษากระดูกสันหลังคด การฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ยังช่วยเพิ่มความมั่นคงให้แก่กระดูกสันหลัง ทำให้สามารถต้านทานแรงกดและแรงบิดที่มากระทำต่อกระดูกสันหลังได้ดีขึ้น […]
91365